เราบริการรับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาก่อสร้างตกแต่งภายใน พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์กว่า 9ปี ใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ รองรับการใช้งานได้จริง มาพร้อมการรับประกัน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน, คอนโด, ออฟฟิศ, สำนักงาน, โชว์รูม, ร้านค้า, ร้านอาหาร หรืออื่นๆ เรายินดีช่วยเหลือคุณ
หากคุณมีแบบอยู่แล้ว สามารถส่งแบบเพื่อให้เราประเมินราคาได้เลย โดยถ่ายรูปหน้างานประกอบ พร้อมส่งมาที่ช่องทางไลน์ หรือเมล์ของเรา กรณีไม่มีแบบสามารถนัดทีมงาน เพื่อเข้าสำรวจหน้างานพร้อมพูดคุย ประเมินราคาค่าออกแบบ และงานตกแต่งภายในได้
email : vorraphiwat@gmail.com
กำหนดโครงการ (Architectural Programming) เบื้องต้น คือ การให้คำปรึกษา และขอข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นการวางแผนกำหนดแนวทางการออกแบบ ได้แก่ ความต้องการพื้นที่ใช้สอย (Function) และบริเวณสิ่งแวดล้อมโดยสังเขป พร้อมทั้งศักยภาพของที่ตั้งอาคาร หรือบริบท (Context) งบประมาณเบื้องต้น (Budgets) พร้อมทำการสรุปความต้องการขั้นต้น โดยในขั้นตอนนี้อาจจะมีการพบปะพูดคุย เพื่อปรับความเข้าใจต่างๆ ให้สอดคล้องตรงกัน
เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้า (ในขั้นตอนที่ 1) มาสังเคราะห์พัฒนาเป็นแบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อเริ่มออกแบบ ทางผู้ออกแบบจะเริ่มทำการวางแนวความคิดในการออกแบบ (Preliminary Concept) และผังพื้นที่ในการใช้สอยให้กับลูกค้าพิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งกำหนดคุณภาพของพื้นที่การใช้งานต่างๆ (Quality of Space) นำเอาพื้นที่ต่างๆมาจัด วางลงไปในที่ตั้งเพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสม (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan)
พร้อมผนวกแนวความคิด (Concepts) ที่สะท้อน ความเป็นเอกลักษณ์ของโครงการมาสร้างรูปทรงที่สอดคล้องกับพื้นที่ และการใช้งาน (Schematic design) พร้อมทั้งการเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย (Preliminary Budget) เพื่อให้สามารถพิจารณาการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริงหรือไม่
เมื่อดำเนินการผ่านขั้นตอนนี้แล้ว จะเริ่มเข้าใจและมองเห็นหน้าตาของงานออกแบบที่สถาปนิกจะพัฒนาในขั้นตอนต่อไป และอาจจะขอปรับแบบได้ แต่ไม่ควรจะแก้ไขแบบจนผิดไปจากแนวความคิดในการออกแบบและผังที่ได้วางเอาไว้
ในขั้นตอนนี้ สถาปนิกจะพัฒนาแบบต่อจากแบบร่างขั้นต้น เป็นการพัฒนารูปทรง และตำแหน่งให้มีความละเอียดมากขึ้น
มีการกำหนดขนาดพื้นที่การใช้งาน และทางสัญจรที่เหมาะสม (Area requirement and circulation) เพิ่มรายละเอียด ต่างๆ เช่น ประตู สุขภัณท์ เฟอร์นิเจอร์ (Detailed design) งานระบบ รวมทั้งระบุวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง วัสดุตกแต่ง (Materials) กำหนดระดับความสูง ตำแหน่งระยะ (Level & Dimension)
โดยจะนำเสนอเป็นภาพ Perspective ที่เสมือนจริง หรือ Model ที่ใกล้เคียงกับงานออกแบบ ที่จะสร้างจริงมากที่สุด เพื่อให้สามารถจินตนาการงานทั้งหมดได้ชัดเจน และในขั้นตอนนี้อาจจะขอแก้ไขแบบร่าง ในส่วนรายละเอียดได้บ้างแต่ไม่มากนัก เนื่องจากแบบในขั้นตอนนี้ มักจะได้รับการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้น เกือบทั้งหมดแล้ว
เป็นการเขียนแบบก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นแบบอ้างอิงที่มีการกำหนดระยะขนาด และระบุวัสดุที่ใช้ (Dimension & Materials) พร้อมนำเสนอในรูปแบบ ผังบริเวณ แปลน รูปด้าน และรูปตัด (Plan Elevation & Section) ในกรณีที่แบบมีความซับซ้อน จำเป็นต้องเพิ่มแบบขยายรายละเอียด (Detailed design)
** หากมีการแก้ไขงานออกแบบช่วงขั้นตอนงานแบบก่อสร้าง (Construction Drawings) แล้วเสร็จจะกระทบส่วนงานหลายอย่างมาก ทั้งแบบสถาปัตยกรรม แบบขยายต่างๆ งานวิศวกรรมโครงสร้าง งานระบบไฟฟ้า งานสุขาภิบาล และอาจเกิดข้อพลาดหน้างานจริงได้ ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และส่งผลเสียหายงานก่อสร้างได้